วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2555

:D


องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ

1. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถจดจำข้อมูลต่าง ๆ และปฏิบัติตามคำสั่งที่บอก เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งให้ คอมพิวเตอร์นั้นประกอบด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ ต่อเชื่อมกันเรียกว่า ฮาร์ดแวร์ (Hardware) และอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์นี้จะต้องทำงานร่วมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือที่เรียกกันว่า ซอฟต์แวร์ (Software) (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2546: 4)ฮาร์ดแวร์ ประกอบด้วย ส่วน คือ
อุปกรณ์รับข้อมูล (Input) เช่น แผงแป้นอักขระ (Keyboard), เมาส์เครื่องตรวจกวาดภาพ (Scanner), จอภาพสัมผัส (Touch Screen), ปากกาแสง (Light Pen), เครื่องอ่านบัตรแถบแม่เหล็ก (Magnetic Strip Reader), และเครื่องอ่านรหัสแท่ง(Bar Code Reader)อุปกรณ์ส่งข้อมูล (Output) เช่น จอภาพ (Monitor), เครื่องพิมพ์ (Printer), และเทอร์มินัล
หน่วยประมวลผลกลาง จะทำงานร่วมกับหน่วยความจำหลักในขณะคำนวณหรือประมวลผล โดยปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยการดึงข้อมูลและคำสั่งที่เก็บไว้ไว้ในหน่วยความจำหลักมาประมวลผลหน่วยความจำหลัก มีหน้าที่เก็บข้อมูลที่มาจากอุปกรณ์รับข้อมูลเพื่อใช้ในการคำนวณ และผลลัพธ์ของการคำนวณก่อนที่จะส่งไปยังอุปกรณ์ส่งข้อมูล รวมทั้งการเก็บคำสั่งขณะกำลังประมวลผลหน่วยความจำสำรอง ทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลและโปรแกรมขณะยังไม่ได้ใช้งาน เพื่อการใช้ในอนาคตซอฟต์แวร์ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญและจำเป็นมากในการควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์สามารถแบ่งออกได้เป็น ประเภท คือซอฟต์แวร์ระบบ มีหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในระบบคอมพิวเตอร์ และเป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์หรือฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ระบบสามารถแบ่งเป็น ชนิดใหญ่ คือ
1. ซอฟต์แวร์ประยุกต์เพื่องานทั่วไป เป็นซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้งานทั่วไปไม่เจาะจงประเภทของธุรกิจ ตัวอย่าง เช่น Word Processing, Spreadsheet, Database Management เป็นต้น2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงาน เป็นซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในธุรกิจเฉพาะ ตามแต่วัตถุประสงค์ของการนำไปใช้3. ซอฟต์แวร์ประยุกต์อื่น ๆ เป็นซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้นเพื่อความบันเทิง และอื่น ๆ นอกเหนือจากซอฟต์แวร์ประยุกต์สองชนิดข้างต้น ตัวอย่าง เช่น Hypertext, Personal Information Management และซอฟต์แวร์เกมต่าง ๆ เป็นต้นแผนภาพแสดงกระบวนการจัดการระบบสารสนเทศplot.jpg
2. เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม ใช้ในการติดต่อสื่อสารรับ/ส่งข้อมูลจากที่ไกล ๆ เป็นการส่งของข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์หรือเครื่องมือที่อยู่ห่างไกลกัน ซึ่งจะช่วยให้การเผยแพร่ข้อมูลหรือสารสนเทศไปยังผู้ใช้ในแหล่งต่าง ๆ เป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง ครบถ้วน และทันการณ์ ซึ่งรูปแบบของข้อมูลที่รับ/ส่งอาจเป็นตัวเลข (Numeric Data) ตัวอักษร (Text) ภาพ (Image) และเสียง (Voice)
         
เทคโนโลยีที่ใช้ในการสื่อสารหรือเผยแพร่สารสนเทศ ได้แก่ เทคโนโลยีที่ใช้ในระบบโทรคมนาคมทั้งชนิดมีสายและไร้สาย เช่น ระบบโทรศัพท์โมเด็มแฟกซ์โทรเลขวิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์ เคเบิ้ลใยแก้วนำแสง คลื่นไมโครเวฟ และดาวเทียม เป็นต้น สำหรับกลไกหลักของการสื่อสารโทรคมนาคมมีองค์ประกอบพื้นฐาน ส่วน ได้แก่ ต้นแหล่งของข้อความ (Source/Sender), สื่อกลางสำหรับการรับ/ส่งข้อความ (Medium), และส่วนรับข้อความ (Sink/Decoder) ดังแผนภาพต่อไปนี้ คือ
สำหรับกลไกหลักของการสื่อสารโทรคมนาคมมีองค์ประกอบพื้นฐาน ส่วน ได้แก่ ต้นแหล่งของข้อความ (Source/Sender), สื่อกลางสำหรับการรับ/ส่งข้อความ (Medium), และส่วนรับข้อความ (Sink/Decoder) ดังแผนภาพต่อไปนี้ คือ
แผนภาพแสดงกลไกหลักของการสื่อสารโทรคมนาคมplot2.jpg


นอกจากนี้ เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถจำแนกตามลักษณะการใช้งานได้เป็น รูปแบบ ดังนี้ต่อไปนี้ คือ
1. เทคโนโลยีที่ใช้ในการเก็บข้อมูล เช่น ดาวเทียมถ่ายภาพทางอากาศกล้องดิจิทัลกล้องถ่ายวีดีทัศน์เครื่องเอกซเรย์ ฯลฯ2. เทคโนโลยีที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล จะเป็นสื่อบันทึกข้อมูลต่าง ๆ เช่น เทปแม่เหล็กจานแม่เหล็กจานแสงหรือจานเลเซอร์บัตรเอทีเอ็ม ฯลฯ3. เทคโนโลยีที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล ได้แก่ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์4. เทคโนโลยีที่ใช้ในการแสดงผลข้อมูล เช่น เครื่องพิมพ์จอภาพพลอตเตอร์ ฯลฯ5. เทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดทำสำเนาเอกสาร เช่น เครื่องถ่ายเอกสารเครื่องถ่ายไมโครฟิล์ม6. เทคโนโลยีสำหรับถ่ายทอดหรือสื่อสารข้อมูล ได้แก่ ระบบโทรคมนาคมต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์วิทยุกระจายเสียงโทรเลขเทเล็กซ์ และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งระยะใกล้และไกลลักษณะของข้อมูลหรือสารสนเทศที่ส่งผ่านระบบคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร ดังนี้
ข้อมูลหรือสารสนเทศที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในระบบสื่อสาร เช่น ระบบโทรศัพท์ จะมีลักษณะของสัญญาณเป็นคลื่นแบบต่อเนื่องที่เราเรียกว่า "สัญญาณอนาลอก" แต่ในระบบคอมพิวเตอร์จะแตกต่างไป เพราะระบบคอมพิวเตอร์ใช้ระบบสัญญาณไฟฟ้าสูงต่ำสลับกัน เป็นสัญญาณที่ไม่ต่อเนื่อง เรียกว่า "สัญญาณดิจิตอล" ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นจะส่งผ่านสายโทรศัพท์ เมื่อเราต้องการส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังเครื่องอื่น ๆ ผ่านระบบโทรศัพท์ ก็ต้องอาศัยอุปกรณ์ช่วยแปลงสัญญาณเสมอ ซึ่งมีชื่อเรียกว่า "โมเด็ม" (Modem)

มารู้จักระบบเทคโนโลยีกันเถอะ




คำว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ มาจากคำ 2 คำนำมารวมกัน คือ คำว่า เทคโนโลยี และสารสนเทศ
เทคโนโลยี + สารสนเทศ = เทคโนโลยีสารสนเทศ
เมื่อพิจารณาความหมายของแต่ละคำจะมีความหมายดังนี้
เทคโนโลยี หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ ความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม มาทำให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษย์ เทคโนโลยีจึงเป็นวิธีการในการสร้างมูลค่าเพิ่มของสิ่งต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น
สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ข้อมูลดังกล่าวต้องผ่านการเก็บรวบรวม จัดเก็บ ตรวจสอบความถูกต้อง แบ่งกลุ่มจัดประเภทของข้อมูล และสรุปออกมาเป็นสารสนเทศ และมนุษย์นำเอาสารสนเทศนั้นไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ เช่น รายงาน ผลงานการวิจัย ข่าวสารต่าง ๆ
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) หมายถึงการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสารสนเทศ ทำให้สารสนเทศมีประโยชน์ และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศรวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ที่จะรวบรวม จัดเก็บ ใช้งาน ส่งต่อ หรือสื่อสารระหว่างกัน เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องโดยตรงกับเครื่องมือเครื่องใช้ในการจัดการสารสนเทศ ซึ่งได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์รอบข้าง ขั้นตอน วิธีการดำเนินการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ เกี่ยวข้องกับตัวข้อมูล เกี่ยวข้องกับบุคลากร เกี่ยวข้องกับกรรมวิธีการดำเนินงานเพื่อให้ข้อมูลเกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้แล้วยังรวมไปถึง โทรทัศน์ วิทยุ โทรศัพท์ โทรสาร หนังสือพิมพ์ นิตยสารต่าง ๆ ฯลฯ
ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
สามารถอธิบายความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศในด้านที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านต่าง ๆ ของผู้คนไว้หลายประการดังต่อไปนี้
ประการที่หนึ่ง เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศ
ประการที่สอง เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากระบบแห่งชาติไปเป็นเศรษฐกิจโลก ที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจของโลกผูกพันกับทุกประเทศ ความเชื่อมโยงของเครือข่ายสารสนเทศทำให้เกิดสังคมโลกาภิวัฒน์
ประการที่สาม เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้องค์กรมีลักษณะผูกพัน มีการบังคับบัญชาแบบแนวราบมากขึ้น หน่วยธุรกิจมีขนาดเล็กลง และเชื่อมโยงกันกับหน่วยธุรกิจอื่นเป็นเครือข่าย การดำเนินธุรกิจมีการแข่งขันกันในด้านความเร็ว โดยอาศัยการใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นตัวสนับสนุน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็ว 
ประการที่สี่ เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีแบบสุนทรียสัมผัส และสามารถตอบสนองตามความต้องการการใช้เทคโนโลยีในรูปแบบใหม่ที่เลือกได้เอง
ประการที่ห้า เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดสภาพทางการทำงานแบบทุกสถานที่และทุกเวลา
ประการที่หก เทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดการวางแผนการดำเนินการระยะยาวขึ้น อีกทั้งยังทำให้วิถีการตัดสินใจ หรือเลือกทางเลือกได้ละเอียดขึ้น 
            กล่าวโดยสรุปแล้ว เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทที่สำคัญในทุกวงการ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโลกด้านความเป็นอยู่ สังคม เศรษฐกิจ การศึกษา การแพทย์ เกษตรกรรม อุตสาหกรรม การเมือง ตลอดจนการวิจัยและการพัฒนาต่าง ๆ

วงศ์ปลาผีเสื้อ





วงศ์ปลาผีเสื้อ (วงศ์: Chaetodontidae, อังกฤษButterflyfish, Bannerfish, Coralfish) เป็นวงศ์ของปลาทะเลจำพวกหนึ่ง ในชั้นปลากระดูกแข็ง อันดับปลากะพง(Perciformes)
ประกอบไปด้วยสมาชิกแบ่งออกเป็นสกุลต่าง ๆ ได้ 10 สกุล พบประมาณ 114 ชนิด มีลักษณะโดยรวม คือ มีลำตัวสั้น แบนด้านข้าง ปากมีขนาดเล็กอาจยืดหดได้ ภายในปากมีฟันละเอียด ครีบหลังมีอันเดียว ประกอบด้วยก้านครีบแข็งอยู่ส่วนหน้าและก้านครีบอ่อนอยู่ถัดไป ครีบทวารมีก้านครีบแข็ง 3 อัน และแผ่นยื่นรับกับครีบหลัง มีนิสัยเฉื่อยชาว่ายน้ำหรือเคลื่อนไหวไปอย่างช้า ๆ ไม่ว่องไว มีสีสันและลวดลายที่สดใสสวยงาม มีพฤติกรรมอาศัยเป็นฝูงหรือเป็นคู่ในแนวปะการัง พบแพร่กระจายพันธุ์ในมหาสมุทรแอตแลนติก,มหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแปซิฟิค
เป็นปลาที่ออกหากินในเวลากลางวัน โดยอาศัยการแทะกินสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ตามแนวปะการัง ส่วนในเวลากลางคืนจะอาศัยหลับนอนตามโพรงหินหรือปะการัง และจะเปลี่ยนสีตัวเองให้เข้มขึ้นเพื่ออำพรางตัวจากศัตรู ซึ่งในหลายชนิดและบางสกุล จะมีจุดวงกลมสีดำขนาดใหญ่คล้ายดวงตาอยู่บริเวณท้ายลำตัวเพื่อล่อหลอกให้ศัตรูสับสนได้อีกด้วยคล้ายกับผีเสื้อที่เป็นแมลง
มีการสืบพันธุ์วางไข่โดยการปล่อยไข่ให้ล่องลอยไปตามกระแสน้ำ ก่อนจะรอวันให้ลูกปลาฟักออกมาเป็นตัวและกลับไปอาศัยในแนวปะการังต่อไป ลูกปลาผีเสื้อแทบทุกชนิดมีรูปร่างหน้าตาแทบจะเหมือนกับตัวเต็มวัย โดยมักจะมีจุดบริเวณครีบหลัง และเมื่อลูกปลาโตขึ้นจุดที่ว่านี้ก็จะหายไปเช่นเดียวกับปลาในแนวปะการังอื่น ๆ อีกหลายชนิด
ด้วยความสวยงามและรูปร่างที่น่ารัก จึงทำให้นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ซึ่งในบางชนิดสามารถฝึกให้กินอาหารสำเร็จรูปได้ หลายชนิดเลี้ยงได้ไม่ยากนัก ขณะที่บางชนิดที่เลี้ยงได้ยาก[1]
สำหรับในน่านน้ำไทยพบปลาในวงศ์ปลาผีเสื้อนี้ไม่ต่ำกว่า 40 ชนิด อาทิ ปลาผีเสื้อนกกระจิบ (Chelmon rostratus), ปลาผีเสื้อทอง (Chaetodon semilarvatus), ปลาผีเสื้อจมูกยาว (Forcipiger flavissimus), ปลาโนรีเกล็ด (Heniochus diphreutes) เป็นต้น[2] โดยจะพบในด้านทะเลอันดามันมากกว่าอ่าวไทย
ซึ่งปลาในวงศ์ปลาผีเสื้อนั้น ในอดีตเมื่อเริ่มมีการอนุกรมวิธาน ด้วยลักษณะปากที่ยื่นยาวทำให้มีความเข้าใจผิดว่า สามารถพ่นน้ำจับแมลงได้เหมือนเช่น ปลาเสือพ่นน้ำ(Toxotidae) ซึ่งเป็นปลาน้ำจืด โดยความผิดพลาดเกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1764 เมื่อมีการส่งตัวอย่างปลาในยังกรุงลอนดอนเพื่อลงรูปตีพิมพ์ลงในหนังสือ ปรากฏเป็นภาพของปลาผีเสื้อนกกระจิบ และถูกบรรยายว่าสามารถพ่นน้ำจับแมลงกินเป็นอาหารได้ จึงถูกกล่าวอ้างต่อมาอย่างผิด ๆ อีกนาน


ปลาอะโรวาน่า







ปลาตะพัด หรือที่นิยมเรียกว่า อะโรวาน่า เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีวิวัฒนาการจากปลาโบราณเพียงเล็กน้อย จึงมีลักษณะคล้ายปลาโบราณ มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Arowana (อะโรวาน่า) หรือ Arawana (อะราวาน่า) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Scleropages formosus อยู่ในวงศ์ปลาตะพัด (Osteoglossidae) นับว่าเป็นปลาที่ใกล้สูญพันธุ์ในธรรมชาติ เนื่องจากเป็นปลาที่สืบพันธุ์ยาก ประกอบกับแหล่งที่อยู่ถูกทำลายไปได้รับความนิยมอย่างสูงของนักเลี้ยงปลาตู้ ในฐานะของปลาสวยงาม ราคาแพง เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535
สำหรับชื่อ "ตะพัด" เป็นชื่อที่เรียกกันในภาคตะวันออก แถบจังหวัดจันทบุรีและตราด ในภาคใต้จังหวัดสุราษฎร์ธานีจะเรียกปลาชนิดนี้ว่า "หางเข้" ถูกค้นพบเป็นทางการครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2474 ตามรายงานของสมิธที่ลำน้ำเขาสมิง จังหวัดตราด โดยระบุว่าในขณะนั้น ปลาตะพัดเป็นปลาที่พบได้ทั่วไปในแม่น้ำลำคลองในภาคตะวันออก ไข่มีลักษณะสีส้มลูกกลมใหญ่ ฟักไข่ในปาก เนื้อมีรสชาติอร่อย นิยมใช้ทำเป็นอาหาร
ในปัจจุบัน สำหรับประเทศไทย เชื่อว่าเหลือเพียงบริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองแสงและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองยัน ซึ่งเป็นต้นแม่น้ำตาปี และบริเวณแม่น้ำ ที่อำเภอละงู จังหวัดสตูลเท่านั้น ส่วนทางภาคตะวันออกที่เคยชุกชุมในอดีต ไม่มีรายงานการพบอีกเลย อีกที่หนึ่งที่ได้เคยได้ชื่อว่ามีปลาตะพัดชุกชุมคือ บึงน้ำใส อำเภอรามัน จังหวัดยะลาในอดีตเป็นแหล่งจับปลาตะพัดที่มีชื่อเสียงมาก จนมีชื่อปรากฏในคำขวัญประจำอำเภอ โดยชาวบ้านจะเรียกปลาชนิดนี้ว่า "กรือซอ" แต่จากการจับอย่างมากในอดีต ทำให้ในปัจจุบัน ปริมาณปลาตะพัดลดน้อยลงจนแทบจะสูญพันธุ์

ปลาทอง







ปลาทองมีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนและญี่ปุ่น ต่อมาถูกนำไปเลี้ยงในยุโรปเมื่อศตวรรษที่ 17 และถูกนำไปเผยแพร่ในอเมริกาในศตวรรษที่ 19 ชาวจีนและชาวญี่ปุ่นรู้จักผสมพันธ์ปลาทองมานานแล้วและได้ปลาทองลูกผสมที่น่าสนใจ มีสีหลากหลายตั้งแต่สีแดง สีทอง สีส้ม สีเทา สีดำและสีขาว แม้กระทั่งปลาทองสารพัดสีในตัวเดียวกัน ปลาทองมีชีวิตอยู่ตามแหล่งธรรมชาติจนกระทั่งมีชาวจีนบางคนได้จับมาเลี้ยงตามบ่อเพราะดูน่าตาสวยดี สีสันแปลกตา สร้างความเพลิดเพลินใจได้เป็นอย่างดี จึงเลี้ยงสืบต่อกันมาเรื่อย ๆ ทำให้มีการแปรผันผันแปร และพัฒนาเรื่อยมา ประกอบกับความนิยมเลี้ยงที่มีมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ปลาทองที่เลี้ยงมีรูปร่างหน้าตาเปลี่ยนแปรไป เช่น แต่เดิมปลาทองจะหาอาหารตามบ่อน้ำธรรมชาติเพื่อเลี้ยงชีวิตซึ่งต้องออกเรี่ยวออกแรง ไขมันส่วนเกินก็ไม่มี หุ่นก็เพรียวลม ครั้นย้ายนิวาสสถานมาอยู่ตามบ่อเลี้ยง อาหารปลาก็ถูกนำมาเสริฟกันถึงขอบบ่อ แถมเสริฟเป็นเวลาซะด้วย ทำให้ปลาทองบางตัวพุงป่องดูอ้วนตุ้ยนุ้ยขึ้นและหากลักษณะต่างๆดังกล่าวเกิดเป็นที่ประทับใจมนุษย์หรือคนดูคนชมว่าสวยแล้วก็จะถูกขุนขึ้นไปเรื่อยๆตามสูตร ปลาทองถูกมนุษย์เลี้ยงมาตั้งแต่อดีต ประมาณ พ.ศ. 1161-1450 หรือนับเป็นพันปีมาแล้ว ปลาทองในสภาพธรรมชาติที่ไม่ได้ถูกมนุษย์นำมาเลี้ยงนั้นก็ได้พัฒนาตัวเอง ทำมาหากินตามธรรมชาติสืบทอดสายพันธ์มาจนถึงปัจจุบัน ก็แทบจะเป็นคนละปลาเดียวกันกับปลาทองของวันนี้เลย เพราะเมื่อพิจารณาดูจะพบว่าปลาใน ปลาตะเพียนทั้งหลายแหล่ต่างก็อยู่ในเทือกเขาเหล่าตระกูลเดียวกันกับปลาทอง คือ FAMILY CYYPRNDAE

ปลาบอลลูน







ชื่อวิทยาศาสตร์ : Barbus conchonius
แหล่งกำเนิด : ประเทศอินเดีย แคว้นแบนกัลและอัสสัม
ขนาดเฉลี่ย : 14 ซม.
อุณหภูมิของน้ำ : 22 - 28 ํC pH
ของน้ำ : 7-7.2 อุปนิสัย : รักสงบ ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง ตกใจง่าย
การแพร่พันธุ์ : วางไข่ การเลี้ยง : ปานกลาง อาหาร : สดและสำเร็จรูป

 ปลาบอลลูนเป็นปลาตระกูลปลาสอด ประวัติไม่ทราบว่าใครเป็นคนทำขึ้นมาคนแรก ตอนผมสิบกว่าขวบก็มีแล้วตอนนี้ก็จะ ห้าสิบแล้วตอนแรกเป็นที่ตื่นตามาก เป็นปลาสอดมิดไนท์ สีดำมีทั้งชนิดหางบ่วงและหางดาบ คาดว่าเป็นปลาที่ผสมกันใกล้ชิดมากเกิดอาการตัวสั้นแล้วเก็บรวบรวมหลายคอกผสมต่อมาเรื่อย ๆ ตอนหลังก็จะมีออกมาหลายชนิด ทั้งสอดแดง มอลลี่ เซลฟิล จนมาถึงปัจจุบัน วิธีการเลี้ยงก็เหมือนปลาสอดทั่วไป แต่เนื่องจากปลาที่มีลำตัวสั้น ไม่ชอบน้ำกระเพื่อม การออกลูกเป็นตัวก็จะเกิดการแท้งลูกในท้องและอาจตายได้ครับ

วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2555

Fighting fish





“ปลากัด”เป็นที่รู้จักกันดีของคนไทยมาเป็นเวลาช้านาน เนื่องจากว่าปลากัดมีลักษณะพิเศษ คือ เป็นปลานักสู้ ทรหด อดทน ซึ่งเป็นเหตุให้คนนำมา “กัดแข่งขันกัน” กลายเป็นเกมกีฬาที่คนไทยนิยมเล่นกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยเฉพาะคนในท้องถิ่นชนบท ว่ากันว่าเมื่อเสร็จจากงานประจำคือ อาชีพการเกษตร ผู้คนในแต่ละชุมชนตามชนบทต่าง ๆ มักจะหอบหิ้วเอาปลากัดตัวเก่งของตัวเองออกมากัดแข่งขันกัน 
ในปี พ.ศ.2383 พระมหากษัตริย์ของประเทศไทย ได้มอบปลากัดแก่นายแพทย์ Theodor Cantor แห่ง Bengel Medical Service ผู้ซึ่งได้วาดภาพและบันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับปลาชนิดนี้ไว้ ต่อมาในปี พ.ศ.2392 นาย นายแพทย์ Theodor Cantor ได้ตั้งชื่อปลาชนิดหนึ่งว่า Macropodus pugnax ,var. ซึ่งเกิดความผิดพลาดขึ้น เนื่องจากความสับสนระหว่างชนิดของปลาที่มีการค้นพบ จนกระทั้งปี พ.ศ.2452 C.Tate Regen ได้ทำการตรวจสอบอีกครั้ง และได้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ว่าBetta splendens ซึ่งคำว่า Betta มาจากคำว่า “Bettah” มาจากตำนานทางประวัติศาสตร์ หมายถึง ชนชาติของผู้ที่เป็นนักรบ ส่วนคำว่า Splendens มาจากคำว่า “Splen did” มีความหมายตรงกับคำว่า “Beautiful” ดังนั้นคำว่า “Betta Splens” จึงหมายถึง “นักรบผู้สง่างาม” 
ปลากัดที่พบและสามารถรวบรวมข้อมูลได้ในปัจจุบันมีจำนวนมากกว่า 40 สายพันธุ์ที่พบในประเทศไทย มีไม่น้อยกว่า 11 สายพันธุ์ ดังนี้ Betta abbreviata,Betta anabatoides,Betta belliea,Betta cocina,Betta imbellis,Betta macrophthalma,Betta Persephone,Betta pugnax,Betta smaragdina,Betta splendens, และ Betta tessyae เป็นต้น ซึ่งปลากัดที่เรามักพบเห็นและเรียกเป็นปกติว่า “ปลากัด” นั้น ไม่ว่าจะเป็นปลากัดหม้อ หรือปลากัดจีนจะหมายถึงปลากัดที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Betta splendens และมีชื่อสามัญว่า Siamese Fighting Fish นั้นเอง

BLUE-BANDED WHIPTAIL


ปลาสายรุ้ง



สายรุ้ง ( ชื่อสามัญ )
BLUE-BANDED WHIPTAIL ( ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ )
Pentapodus setosus ( ชื่อวิทยาศาสตร์ )
ลักษณะทั่วไป: ลำตัวแบนข้างเล็กน้อย หัวค่อนข้างแหลมปาก กว้างพอสมควร มีเกล็ดประปรายอยู่ตรงบริเวณปลายสุดของหัว มีฟันเล็กแหลมและมีฟันเขี้ยวซึ่งแสดงถึงนิสัยในการกินอาหาร พื้นลำตัวมีสีเทาอมเหลือง ส่วนด้านท้องมีแถบสีขาวเงิน พาดจากปลายจะงอยปากผ่านไปตามกลางลำตัวจนถึงโคนหาง และมีแถบสีขาวพาดไปบนครีบ จุดเด่นที่พบได้อย่างชัดเจนของปลาชนิดนี้คือ ครีบหางเว้าลึกปลายแพนหางด้านบนจะเป็นเส้นสีดำ มีจุดดำที่โคนครีบหาง 
ถิ่นอาศัย: อยู่ตามหน้าดิน บริเวณที่พบได้แก่จังหวัดสมุทรปรา การ สมุทรสงคราม ประจวบคีรีขันธ์ และชุมพร 
อาหาร: กินพืชไม้น้ำ สัตว์น้ำขนาดเล็กและซากพืชซากสัตว์ 
ขนาด: ความยาวประมาณ 14-22 ซ.ม. 
ประโยชน์: ใช้เป็นอาหาร 

Narwhal

Guppy






ปลาหางนกยูงจัดเป็นปลาสวยงามประเภทหนึ่งที่มีผู้นิยมเลี้ยงไว้ดูเล่น พันธุ์ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน มีประมาณ 5 สายพันธุ์ ได้แก่ Cobra (คอบร้า) Tuxedo (ทักซิโด้) Mosaic (โมเสค) Grass (กร๊าซ) และ Sword tall ( นกยูงหางดาบ) พันธุ์เหล่านี้ได้รับการปรับปรุงให้มีลักษณะสวยงาม แข็งแรงลำตัวใหญ่สมส่วน ไม่คดงอ มีการทรงตัวปกติ ครีบหางใหญ่ไม่หักพับขณะว่าย และที่สำคัญมีสีสันลวดลายตรงตามสายพันธุ์  สำหรับวิธีเลี้ยงปลาหางนกยูงให้มีสีสันสวยงาม เพื่อให้ได้ราคาดี 

Puffer







ามปรกติปลาปักเป้าจะมีสภาพ เหมือนปลา ทั่วไป มีหนามสั้น หรือยาวแล้วแต่ชนิด หากถูกรบกวนจะพองตัวโตขึ้น มีรูปร่างคล้ายลูกโป่ง หรือลูกบอลลูน หรือคล้ายผลทุเรียนลูกกลม ๆมีหนามแหลม ๆ สั้นหรือยาวได้อย่างชัดเจน ทางด้านวิชาการได้จัดแบ่งปลาปักเป้าไว้ 2 วงศ์ ได้แก่Tetraodontidae ลักษณะปลาปักเป้า ในวงศ์นี้ จะมีฟัน 4 ซี่ มีผิวตัวค่อนข้างเกลี้ยง อีกวงศ์หนึ่งเรียกว่า Diodontidae ในวงศ์นี้ มีฟัน 2 ซี่ คล้ายจงอยปากนกแก้ว และมีหนามรอบตัว เห็นได้ชัดเจนกว่าชนิดแรก ในประเทศไทย มีปลาปักเป้าทั้งชนิดที่อาศัยอยู่ในน้ำจืดและน้ำเค็ม รวมกันประมาณราว 20 ชนิด ปลาปักเป้าทะเล (marine puffer fish) มีชื่อเรียกต่างกันไป ได้แก่toad fish, globe fish, toado , swell fish, porcupine fish และ balloon fish เป็นต้น ปลาปักเป้าทะเลเป็นที่รู้จักดี และคุ้นเคยของชาวประมง ถ้าพบเห็นบนเรือลากอวน เขามักจะทำลายมันทิ้งหรือโยน มันกลับลง ไปในทะเล ในประเทศญี่ปุ่นเรียกปลาชนิดนี้ว่า " fugu " เนื้อปลาปักเป้าสดตามภัตตาคารใหญ่ ๆ

Cichlids





ปลาหมอสีเป็นปลาน้ำจืดที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำ ทะเลสาบ หนองบึ่ง คูคลองต่างๆ โดยมีแหล่งกำเนิดจาก 2 กลุ่มใหญ่ๆ ในโลก คือกลุ่ม New world ปลาหมอสีที่พบในส่วนของโลกใหม่ ได้แก่ แถบอเมริกากลาง -ใต้ เช่น แท๊กซัสตอนใต ้ ลงมาจนถึงอาเจนตินาของอเมริกาใต้ ,คอสตาริกา ,นิการากัว , บราซิล, ลุ่มแม่น้ำอเมซ่อน, เกาะมาดากาสการ์ , เกาะศรีลังการ, ชายฝั่งทะเลตอนใต้ของอินเดีย ฯลฯ

ฺBlue Lobster





เครย์ฟิช (Crayfish) หรือ คริวฟิช (Crawfish) ชื่อสามัญภาษาอังกฤษใช้เรียกกุ้งน้ำจืดจำพวกหนึ่ง มีรูปร่างโดยรวมลำตัวใหญ่ เปลือกหนา ก้ามใหญ่แลดูแข็งแรง มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเหนือทวีปยุโรปโอเชียเนียและบริเวณใกล้เคียง เช่น อีเรียน จายา และเอเชียตะวันออก ปัจจุบันมีการอนุกรมวิธานเครย์ฟิชไปแล้วกว่า 500 ชนิด ซึ่งกว่าครึ่งนั้นเป็นเครย์ฟิชที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเหนือ แต่ก็ยังมีอีกหลายร้อยชนิดที่ยังไม่ได้รับการอนุกรมวิธาน อีกทั้งหลายชนิดยังมีความหลากหลายทางสีสันมากอีกด้วย (variety)